เมนู

พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 2. ยมกวรรค 5. ปฐมสุขสูตร
3. พระเอกพีชีโสดาบัน
4. พระสกทาคามี
5. พระอรหันต์ในปัจจุบัน
บุคคล 5 จำพวกนี้ มีความสำเร็จในโลกนี้
บุคคล 5 จำพวกไหนบ้าง ละโลกนี้ไปแล้วจึงมีความสำเร็จ คือ
1. พระอนาคามีผู้อันตราปรินิพพายี
2. พระอนาคามีผู้อุปหัจจปรินิพพายี
3. พระอนาคามีผู้อสังขารปรินิพพายี
4. พระอนาคามีผู้สสังขารปรินิพพายี
5. พระอนาคามีผู้อุทธังโสตอกนิฏฐคามี
บุคคล 5 จำพวกนี้ละโลกนี้ไปแล้วจึงมีความสำเร็จ
ภิกษุทั้งหลาย บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งเลื่อมใสอย่างไม่หวั่นไหวในเรา บุคคล
เหล่านั้นทั้งหมดเป็นโสดาบัน บรรดาบุคคลผู้เป็นโสดาบันเหล่านั้น บุคคล 5 จำพวก
แรกนี้มีความสำเร็จในโลกนี้ และบุคคล 5 จำพวกหลังนี้ละโลกนี้ไปแล้วจึงมีความ
สำเร็จ
อเวจจัปปสันนสูตรที่ 4 จบ

5. ปฐมสุขสูตร
ว่าด้วยเหตุให้เกิดสุขและทุกข์ สูตรที่ 1
[65] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ นาลกคาม1 แคว้นมคธ ครั้งนั้นแล
ปริพาชกชื่อว่าสามัณฑกานิเข้าไปหาท่านถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิง
ใจ พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียนถามท่านว่า “ท่านสารีบุตร
อะไรหนอ เป็นเหตุให้เกิดสุข อะไรเป็นเหตุให้เกิดทุกข์”

เชิงอรรถ :
1 นาลกคาม เป็นชื่อหมู่บ้านซึ่งเป็นที่เกิดของท่านพระสารีบุตร ไม่ไกลจากกรุงราชคฤห์ บางทีเรียก
นาลันทคาม

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :143 }


พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย ทสกนิบาต [2. ทุติยปัณณาสก์] 2. ยมกวรรค 6. ทุติยสุจสูตร
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ การเกิดเป็นเหตุให้เกิดทุกข์ การไม่เกิด
เป็นเหตุให้เกิดสุข เมื่อมีการเกิด ทุกข์นี้เป็นอันพึงหวังได้1คือความหนาว ร้อน หิว
กระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ สัมผัสไฟ ถูกตีด้วยไม้ ถูกทำร้ายด้วยศัสตรา
ทั้งญาติมิตรต่างก็พากันโกรธเคืองเขา
เมื่อมีการเกิด ทุกข์นี้เป็นอันพึงหวังได้ เมื่อไม่มีการเกิด สุขนี้เป็นอันพึงหวังได้
คือ ความไม่หนาว ไม่ร้อน ไม่หิว ไม่กระหาย ไม่ต้องปวดอุจจาระ ไม่ต้องปวด
ปัสสาวะ ไม่ต้องสัมผัสไฟ ไม่ถูกตีด้วยไม้ ไม่ถูกทำร้ายด้วยศัสตรา ทั้งญาติมิตร ก็
ไม่พากันโกรธเคืองเขา
ผู้มีอายุ เมื่อไม่มีการเกิด สุขนี้เป็นอันพึงหวังได้”
ปฐมสุขสูตรที่ 5 จบ

6. ทุติยสุขสูตร
ว่าด้วยเหตุให้เกิดสุขและทุกข์ สูตรที่ 2
[66] สมัยหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรอยู่ ณ นาลกคาม แคว้นมคธ ครั้งนั้นแล
ปริพาชกชื่อว่าสามัณฑกานิเข้าไปหาท่านถึงที่อยู่ ได้สนทนาปราศรัยพอเป็นที่บันเทิงใจ
พอเป็นที่ระลึกถึงกันแล้วนั่ง ณ ที่สมควร ได้เรียนถามท่านว่า “ท่านสารีบุตร ใน
ธรรมวินัยนี้ อะไรหนอเป็นเหตุให้เกิดสุข อะไรเป็นเหตุให้เกิดทุกข์”
ท่านพระสารีบุตรตอบว่า “ผู้มีอายุ ในธรรมวินัยนี้ ความไม่ยินดีเป็นเหตุให้
เกิดทุกข์ ความยินดีเป็นเหตุให้เกิดสุข เมื่อไม่ยินดี ทุกข์นี้เป็นอันพึงหวังได้ คือ
บุคคลผู้ไม่ยินดี แม้เดินอยู่ก็ไม่ประสพความสุขสำราญ บุคคลผู้ไม่ยินดี แม้ยืนอยู่ ...
แม้นั่งอยู่ ... แม้นอนอยู่ ... แม้ไปสู่บ้าน ... แม้ไปสู่ป่า ... แม้ไปสู่โคนไม้ ... แม้ไปสู่
เรือนว่าง ... แม้ไปสู่ที่แจ้ง ... แม้ไปสู่ท่ามกลางภิกษุสงฆ์ ก็ไม่ประสพความสุขสำราญ

เชิงอรรถ :
1 ดูเชิงอรรถที่ 2 ข้อ 14 (เจโตขีลสูตร) หน้า 22 ในเล่มนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 24 หน้า :144 }